วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

น้ำยาล้างจาน3สูตร

สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรแรก

เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทำน้ำยาล้างจาน
- กระป๋องพลาสติกมีฝาปิดความจุประมาณ 1 ลิตร 1 ใบ
- ตะกร้ามีรูใบเล็กขนาดใส่ในกระป๋องพลาสติกได้ 1 ใบ
- เครื่องชั่งน้ำหนักแบบมีจานรอง 1 เครื่อง
- ถ้วยตวงน้ำ 1 ใบ
- ช้อนสำหรับคน 1 คัน
- ผ้าขาวบางขนาด 15X15 นิ้ว 1 ผืน
- ช้อนตวง 1 ชุด

วัสดุทำน้ำยาล้างจาน- เนื้อสับปะรดสับ 300 กรัม
- น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี 2 ช.ต.
- หัวเชื้อ EM สด 2 CC.
- น้ำสะอาดไม่มีคลอรีน (น้ำประปาพักไว้ 1 คืน ก่อนนำมาใช้) 50 CC.
- ใบชา 1 หยิบมือ

วิธีทำน้ำยาล้างจานล้างกระป๋องและตะกร้าพลาสติกทิ้งไว้ให้แห้ง นำตะกร้าใส่ในกระป๋องพลาสติก
ชั่งเนื้อสับปะรดสับ 300 กรัม โดยวางถุงพลาสติกบนจานรองก่อน แล้วนำไปเทใส่ในตะกร้า
น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี น้ำสะอาด หัวเชื้อ EM สด และใบชา ชั่งและตวงตามสัดส่วนนำมาผสมเข้าด้วยกัน คนน้ำตาลจนละลายหมด เทลงในตะกร้าสับปะรด คนให้เข้ากันปิดฝาทิ้งไว้ 15 วัน (ในที่มีแสงน้อย ที่อุณหภูมิห้อง)
นำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้มากรองด้วยผ้าขาวบางกรอกใส่ขวดไว้ใช่ ส่วนกากนำไปผสมดินใช้ปลูกต้นไม้
น้ำยาล้างจานสูตรนี้ระยะแรกๆ สีจะขุ่นต่อมาจะตกตะกอน กลิ่นจะฉุนคล้ายไวน์มากขึ้นเรื่อยๆ และสีจะใสน่าใช้ยิ่งขึ้นด้วย

วิธีใช้น้ำยาล้างจานใช้ล้างจานโดยไม่ต้องผสมน้ำ ใช้เหมือนน้ำยาล้างจานทั่วไป ถ้าล้างจานจำนวนมากควรแช่จาน ในน้ำยาล้างจานผสมน้ำสัดส่วนน้ำยาล้างจาน 1 ส่วน น้ำ 5 ส่วนไว้ก่อน ประมาณ 20 นาทีก่อนล้างเพื่อให้สะอาดทั่วถึง แล้วล้างน้ำสะอาดจนกว่าแน่ใจว่าสะอาค ควรตากจานให้แห้งก่อนนำไปใช้ เพื่อป้องกันการตกค้างของจุลินทรีย์ในหยดน้ำที่เกาะอยู่บนจาน
เปลือกที่ปอกออกนำไปหมัก เป็นน้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ ทำปุ๋ยน้ำบำบัดกลิ่นและน้ำเสีย เพราะไม่มั่นใจว่าจะมีสารเคมี หรือปุ๋ยตกค้างอยู่หรือไม่จึงไม่ควรนำมาล้างจาน

น้ำยาล้างจานสูตรนี้ สามารถใช้เป็นน้ำยาล้างมือได้อย่างปลอดภัยทำให้มือนุ่ม ส่วนกากที่เหลือนำไปหมักใหม่ได้อีก โดยใช้สัดส่วนเหมือนเดิม หรือจะนำไปผสมดินปลูกต้นไม้ก็ได้

สูตรน้ำยาล้างจาน.jpg


สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรสอง

วัสดุทำน้ำยาล้างจาน

1.N70หรือหัวเชื้อ   1 กิโลกรัม
2.F24หรือสารขจัดไขมัน  ครึ่งกิโลกรัม ถ้าไม่มีไม่ต้องก็ได้ครับ
3.เกลือ ประมาณ ครึ่งกิโลกรัม ถึง1กิโลกรัม หรือ บางที่เรียกว่าผงข้น
4.น้ำผลไม้รสเปรี้ยว (ที่โรงเรียนทำใช้มะกรูดต้มกับน้ำ)ประมาณ 4 ลิตร
5.น้ำสะอาด ประมาณ7 ลิตร อันนี้แล้วแต่ความข้นครับหากยังข้นก็เติมได้อีกแต่ถ้ามากไปก็ใช้ไม่ได้บางที่ใช้น้ำขี้เถ้าผสมด้วย แต่ไม่มีก้ไม่ต้องครับ

วิธีทำน้ำยาล้างจานเทN70กับF24ลงในภาชนะกวนไปในทิศทางเดียวกันให้เข้ากันจนเป็นครีมขาวๆจากนั้นเติมน้ำผลไม้ลงไปกวนไปเรื่อยๆหากไม่ข้นก็ค่อยๆเติมเกลือทีละน้อยสังเกตุดูหากข้นมากก็เติมน้ำลงไปสลับกันจนน้ำหมดทิ้งใว้ 1 คืนจนฟองยุบแล้วตักใส่ภาชนะใว้ใช้ ต้นทุนประมาณ 140 บาท ครับ ส่วนปริมาณที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้น้ำไปเท่าใด

อย่าคนแรงเพราะจะทำให้มีฟองเกิดมาก

N70คือสารลดแรงตึงผิวประจุลบ มีหน้าที่เป็นสารทำความสะอาดต่างๆมีชื่อเต็มๆว่าTexapon N70 มีชื่อทางเคมีว่า Sodium Laurylether Sulfate N70(โชเดียมลอริวอีเทอร์ซัลเฟตN70)มีชื่อย่อๆว่าSLES

ส่วนF24คือสารขจัดไขมันหรือLAS(linearalkylbenZene Sulfonate)

จะใช้น้ำมะกรูดหรือมะนาวหมักก็ได้ครับใส่ 4 ลิตร

*วิธีทำน้ำมะกรูดหรือมะนาวหมัก

หั่นมะกรูดหรือมะนาว 4 กิโลกรัม เป็นสองซีก ใส่น้ำตาล 1 กิโลครึ่ง น้ำ10 ลิตร หมัก 30วัน กรองเอาแต่น้ำมาใช้

สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรสาม

วัสดุส่วนผสมทำน้ำยาล้างจาน

1 WATER 300 กรัม
2 LA 40 19.84 กรัม
3 หัวแชมพู 67.46 กรัม
4 COMPERLAN KD 3.97 กรัม
5 SCPG 520      0.79 กรัม
6 PERFUME LEMON 0.40 กรัม
7 เกลือ  7.54 กรัม

วิธีทำน้ำยาล้างจาน
1. ละลาย LA 40 กับน้ำ คนจนละลายให้เข้ากัน   (ใช้ความร้อนได้เล็กน้อยเพื่อให้ละลายง่ายขึ้น)
2. เติมหัวแชมพู + COMPERLAN KD ลงไปคนให้เข้ากัน จนแน่ใจว่าเข้ากันดี
3. เติม SCPG 520  ลงไปคนให้เข้ากัน
4. เติมกลิ่นมะนาว ลงไปคนให้เข้ากัน
5. เติมเกลือที่ละลายด้วยน้ำร้อน คนให้เข้ากัน (จะหนืดขึ้น)    ก็จะได้น้ำยาล้างจานตามต้องการ

สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรสี่


วัสดุส่วนผสมทำน้ำยาล้างจาน
1  น้ำสะอาด  10 ลิตร    
2  โซฮาแลบ30  -  ลดคราบ 1.5  กก.
3  N-70 - ทำความสะอาด  1  กก.
4  เอ็มอี - ทำให้หนืด 160 กรัม
5  แอมโมเนียม คลอไรด์  - ผงข้น 100 กรัม
6 ผงกันบูด  15 กรัม
7  สี -เหลืองหรือเขียว ตามสมควร
8 กลิ่นมะนาว ตามสมควร 

วิธีทำน้ำยาล้างจาน           ผสมโซฮาแลบ30 และ แอมโมเนียมคลอไรด์ เข้าด้วยกัน  คนจนส่วนผสมเป็นสีขาว แล้วจึงเติมเอ็มอี
และ เอ็น70ลงไป  ค่อยๆเติมน้ำ กวนช้าๆไปจนเข้ากันดี แล้วเติมกลิ่นและสีดูความเข้มตามใจชอบ  ทิ้งไว้จนหมด
ฟอง(ประมาณ1-2 ชั่วโมง) จึงนำไปบรรจุขวดตามต้องการ

ไม้ไผ่

ไม้ไผ่ เป็นวัสดุที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เพื่อความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน ในขณะที่โลกปัจจุบันเป็นเรื่องของพลาสติกและเหล็ก แต่ก็ยังมีโครงการร่วมมือค้นคว้า เรื่องไม้ไผ่ระหว่างชาติต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการในการใช้ไม้ไผ่ซึ่งกันและกันในประเทศลาตินอเมริกัน 6 ประเทศ ในขณะนี้ได้มีโครงการวิจัยร่วมกันเพื่อจะหาชนิดของไม้ไผ่ที่ดีที่สุดจากภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
         ไม้ไผ่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์ Gramineae เช่นเดียวกับหญ้าแต่เป็นพืชตระกูลหญ้าที่สูงที่สุดในโลก และเป็นพืชเมืองร้อน ไม้ไผ่ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการก่อสร้างไม้นั่งร้านทาสีฉาบปูน ใช้จักสานภาชนะต่าง ๆ ใช้ทำเครื่องดนตรี ใช้เป็นเยื่อกระดาษในอุตสาหกรรมทำกระดาษ ทำเครื่องกีฬา ใช้เป็นอาวุธ เช่น คันธนู หอก หลาว ใช้เป็นเครื่องอุปกรณ์การประมง เช่น ทำเสาโป๊ะ ทำเครื่องมือในการเกษตร นอกจากนั้นใบยังใช้ห่อขนม หน่อไผ่ใช้เป็นอาหารอย่างวิเศษ และกอไผ่ยังใช้ประดับสวนได้งดงาม ไม่ไผ่ทั่วโลกที่รู้จักกันมีประมาณ 75 สกุล ที่ได้สำรวจพบในเมืองไทยมีประมาณ 12 สกุล แยกเป็นชนิดประมาณ 44 ชนิด
ชนิดของไม้ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้างที่ควรทราบ ไม้ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้างนั้นมีดังต่อไปนี้
ภาพ:ไม้ไผ่.png
        1. ไผ่ตง (D.asper) เป็นไผ่ในสกุล Dendrocalamus นิยมปลูกกันในภาคกลางโดยเฉพาะที่จังหวัดปราจีนบุรีปลูกกันมาก เป็นไผ่ขนาดใหญ่ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-12 เซนติเมตร ไม่มีหนามปล้องยาวประมาณ 20 เซนติเมตร โคนต้นมีลายขาวสลับเทา มีขนเล็ก ๆ อยู่ทั่วไปของลำ มีหลายพันธุ์ เช่นไผ่ตงหม้อ ไผ่ตงดำ ไผ่ตงเขียว ไผ่ตงหนู เป็นต้น หน่อใช้รับประทานได้ ลำต้นใช้สร้างอาคาร เช่น เป็นเสา โครงหลังคา เพราะแข็งแรงดี ไผ่ตงมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ชาวจีนนำมาปลูกในประเทศไทยประมาณปี พ.ศ. 2450 ปลูกครั้งแรกที่ตำบลพระราม จังหวัดปราจีนบุรี
         2. ไผ่สีสุก (B.flaxuosa) อยู่ในสกุล Bambusa ไผ่ชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปและมีมากในภาคกลางและภาคใต้ลำต้น เขียวสดเป็นไผ่ขนาดสูงใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ7-10 เซนติเมตร ปล้องยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร บริเวณข้อมีกิ่งเหมือนหนาม ลำต้นเนื้อหนา ทนทานดี ใช้ทำนั่งร้านในการก่อสร้าง เช่น นั่งร้านทาสี นั่งร้านฉาบปูน
         3. ไผ่ลำมะลอก (D.longispathus) อยู่ในสกุล Dendrocalamus มีทั่วทุกภาคแต่ในภาคใต้จะมีน้อยมาก ลำต้นสีเขียวแก่ไม่มีหนาม ข้อเรียบ จะแตกใบสูงจากพื้นดินประมาณ 6-7 เมตร ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นใช้ทำนั่งร้านในงานก่อสร้างได้ดี
         4. ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม (B.arumdinacea) อยู่ในสกุล Bambusa มีทั่วทุกภาคของประเทศต้นแก่มีสีเขียวเหลือง เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีหนามและแขนง ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 -15 เซนติเมตร ใช้ทำโครงบ้าน ใช้ทำนั่งร้าน
         5. ไผ่ดำหรือไผ่ตาดำ (B.sp.) อยู่ในสกุล Bambusa มีในป่าทึบแถบจังหวัดกาญจนบุรีและจันทบุรี ลำต้นสีเขียวแก่ ค่อนข้างดำ ไม่มีหนาม ขนาดเส้นผ่านเส้นศูนย์กลางของปล้องประมาณ 7-10 เซนติเมตรปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร เนื้อหนา ลำต้นสูง 10-12 เมตร เหมาะจะใช้ในการก่อสร้าง จักสาน
         6. ไผ่เฮียะ (C.Virgatum) อยู่ในสกุล Cephalastachyum มีทางภาคเหนือ ลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ปล้องยาวขนาด 50-70 เซนติเมตร ข้อเรียบ มีกิ่งก้านเล็กน้อย เนื้อหนา 1-2 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-18 เมตร ลำต้นใช้ทำโครงสร้างอาคาร เช่น เสา โครงคลังคา คาน
         7. ไผ่รวก (T. siamensis) อยู่ในสกุล Thyrsostachys มีมากทางจังหวัดกาญจนบุรี ลำต้นเล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.7 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เมตร ลักษณะเป็นกอ ลำต้นใช้ทำรั้ว ทำเยื่อกระดาษ ไม้รวกที่ส่งออกขายต่างประเทศ เมื่อทำให้แห้งดีแล้ว จะนำไปจุ่มลงในน้ำมันโซลาเพื่อกันแมลง น้ำมันโซลา 20 ลิตร จะอาบไม้รวกได้ประมาณ 40,000 ลำ
ไม้ไผ่ที่ปลูกกันมากในประเทศไทยและนำมาใช้ประโยชน์มีอยู่ประมาณ 32 ชนิด ดังแสดงในตารางที่ 1.8
ไม้ไผ่ที่ปลูกกันมากในประเทศไทยและนำมาใช้ประโยชน์
ภาพ:ตาราง.png
การทำให้ไม้ไผ่คงทน
         ไม้ไผ่ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆ ไปนั้น ตัดมาใช้ได้เมื่อไม้ไผ่อายุ 3-5 ปี แต่ถ้าไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขกำจัดแมลงและเชื้อราแล้ว ไม้ไผ่ที่อยู่ติดดินอาจมีอายุใช้งานประมาณ 1-2 ปี เท่านั้น แต่ถ้าใช้ในที่ร่มและจากดินอายุอาจจะใช้งานถึง 5 ปี ไม้ไผ่อาจถูกรบกวนทำลายโดยมอดและปลวก เพราะมีอาหารในเนื้อไม้ นอกจากนั้นอาจถูกทำลายโดยเชื้อรา และถ้าใช้ในน้ำทะเลก็อาจถูกทำลายโดยเพรียงได้ การรักษาให้ไม้ไผ่มีอายุยืนนานนั้นอาจทำได้ต่าง ๆ กันดังนี้
         1. วิธีแช่น้ำ การแช่น้ำก็เพื่อทำลายสารในเนื้อไม้ที่มีอาหารของแมลงต่าง ๆ เช่น พวกน้ำตาล แป้ง ให้หมดไป การแช่ต้องแช่ให้มิดลำไม้ไผ่ เป็นน้ำไหลซึ่งมีระยะเวลาแช่น้ำสำหรับไม้สดประมาณ 3 วัน ถึง 3 เดือนแต่ถ้าเป็นไม้ไผ่แห้งต้องเพิ่มอีกประมาณ 15 วัน วิธีใช้ความร้อน หรือการสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ ก่อนนำมาสกัดน้ำมันควรตั้งพิงเอาส่วนโคนไว้ตอนบน การสกัดน้ำมันออกจากไม้ไผ่ทำได้โดยให้ความร้อนด้วยไฟหรือต้ม
         2. วิธีการสกัดน้ำมันด้วยไฟจะทำให้เนื้อไม้มีลักษณะแกร่ง ส่วนมากสกัดน้ำมันด้วยวิธีต้มนั้นเนื้อไม้จะอ่อนนุ่มการสกัดน้ำมันด้วยไฟนั้นทำโดยเอาไม้ไผ่ปิ้งในเตาไฟต่อย่าให้ไหม้และรีบเช็ดน้ำมันที่เยิ้มออกมาจากผิวไผ่ให้หมดระยะเวลาการปิ้งประมาณ 20 นาที อุณหภูมิประมาณ 120-130 องศาเซลเซียส การสกัดน้ำมันด้วยวิธีต้มนั้นใช้ต้มในน้ำธรรมดาใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรืออาจใช้โซดาไฟ 10.3 กรัมหรือโซเดียมคาร์บอเนต 15 กรัม ละลายในน้ำ 18.05 ลิตร ใช้เวลาต้มประมาณ 15 นาที หลังจากต้มแล้วให้รีบเช็ดน้ำที่ซึมออกมาจากผิวไม้ไผ่ก่อนที่จะแห้ง เพราะถ้าเย็นลงจะเช็ดไม่ออกแล้วจึงนำไม้ไผ่ที่สกัดน้ำมันออกไปแล้วล้างน้ำให้สะอาดและทำให้แห้ง
         3. การใช้สารเคมี วิธีที่จะได้ผลดีกว่าการปิ้งหรือต้ม ซึ่งอาจทำได้ทั้งวิธีชุบหรือทาน้ำยาลงไปที่ไม้ไผ่หรือจะโดยวิธีอัดสารเคมีเข้าไปในเนื้อไม้ไผ่ วิธีชุบนั้นใช้เวลาประมาณ 10 นาที เช่น ชุบในน้ำยา DDT ที่มีความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับน้ำมันก๊าดจะทนได้นานถึง 1 ปี ถ้าชุบหรือแช่ให้นานขึ้นก็อาจทนได้ถึง 2 ปี หรืออาจใช้โซเดียมแพนตาคลอโรฟีเนต 1 เปอร์เซ็นต์ ละลายน้ำบอแรกซ์ ก็จะสามารถป้องกันมอดได้เป็นอย่างดี วิธีอัดน้ำยานั้นถ้าไม้ไผ่ไม่มากนักและเป็นไม้ไผ่สดทำโดยเอาน้ำยารักษาเนื้อไม้ใส่ภาชนะที่มีความลึกประมาณ40-60 เซนติเมตร เอาไม้ไผ่ลงแช่ทั้งที่มีกิ่งและใบ เมื่อใบสดระเหยน้ำออกไป โคนไม้ไผ่จะดูดน้ำยาเข้าแทนที่
         วิธีอัดน้ำยาอีกวิธีหนึ่งที่จะอัดน้ำยาเข้าไม่ไผ่สดที่ตัดกิ่งก้านออกแล้ว ทำโดยนำยางในของรถจักรยานยาวพอสมควรแล้วใส่น้ำยาข้างหนึ่งสวมเข้าที่โคนไม้ไผ่ใช้เชือกรัดกันน้ำยาออก ยกปลายยางข้างที่ไม่ได้กรอกน้ำยาให้สูงวิธีนี้ได้ผลดีกับไม้ไผ่สด วิธีอัดน้ำยาอีกวิธีหนึ่งคือ ตั้งถังน้ำยาสูงประมาณ 10 เมตร แล้วต่อท่อสวมที่โคนไม้ไผ่สดด้วยท่อยางแล้วรัดไว้ไม่ให้น้ำยาไหลออกมาแรงดันของน้ำยาที่อยู่สูง 10 เมตร จะดันน้ำยาเข้าไปในไม้ไผ่
         การใช้ไม้ไผ่เสริมคอนกรีต ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เหล็กเสริมคอนกรีตขาดแคลนจึงได้มีผู้นำไม้ไผ่มาผ่าเป็นซีกเล็ก ๆ แล้วใช้เสริมคอนกรีตแทนเหล็ก แม้ในปัจจุบันก็ยังมีผู้ใช้วิธีนี้อยู่
         ไม้ไผ่นั้นมีค่าพิกัดแห่งความยืดหยุ่นต่ำ และเป็นวัสดุที่ยืดตัวมากกว่าเหล็กถึงประมาณ 14 เท่า เมื่อรับแรงเท่ากัน ไม้ไผ่ต้านแรงดึงได้ 13,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ที่ข้อและต้านแรงดึงได้ 17,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรที่ปล้อง เพราะเหตุที่ไม้ไผ่ดูดน้ำมาก เมื่อนำมาเสริมคอนกรีตแทนเหล็กเสริม ทำให้การยึดเกาะกับคอนกรีตต่ำ ถ้านำไม้ไผ่มาเสริมคอนกรีตขณะที่เทคอนกรีตซึ่งมีน้ำผลมอยู่ ไม้ไผ่จะพองตัว และต่อมาไม้ไผ่หดตัวลงเนื่องจากน้ำระเหยไป จะทำให้ไม้ไผ่ที่เสริมแยกตัวกับคอนกรีตที่หุ้มอยู่ ไม้ไผ่จึงไม่เหมาะสำหรับมาเสริมคอนกรีตโครงสร้าง แต่อาจใช้ได้สำหรับเสริมพื้นคอนกรีตที่ติดกับดินและไม่ได้รับน้ำหนักมากนัก