วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

น้ำยาล้างจาน3สูตร

สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรแรก

เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทำน้ำยาล้างจาน
- กระป๋องพลาสติกมีฝาปิดความจุประมาณ 1 ลิตร 1 ใบ
- ตะกร้ามีรูใบเล็กขนาดใส่ในกระป๋องพลาสติกได้ 1 ใบ
- เครื่องชั่งน้ำหนักแบบมีจานรอง 1 เครื่อง
- ถ้วยตวงน้ำ 1 ใบ
- ช้อนสำหรับคน 1 คัน
- ผ้าขาวบางขนาด 15X15 นิ้ว 1 ผืน
- ช้อนตวง 1 ชุด

วัสดุทำน้ำยาล้างจาน- เนื้อสับปะรดสับ 300 กรัม
- น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี 2 ช.ต.
- หัวเชื้อ EM สด 2 CC.
- น้ำสะอาดไม่มีคลอรีน (น้ำประปาพักไว้ 1 คืน ก่อนนำมาใช้) 50 CC.
- ใบชา 1 หยิบมือ

วิธีทำน้ำยาล้างจานล้างกระป๋องและตะกร้าพลาสติกทิ้งไว้ให้แห้ง นำตะกร้าใส่ในกระป๋องพลาสติก
ชั่งเนื้อสับปะรดสับ 300 กรัม โดยวางถุงพลาสติกบนจานรองก่อน แล้วนำไปเทใส่ในตะกร้า
น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี น้ำสะอาด หัวเชื้อ EM สด และใบชา ชั่งและตวงตามสัดส่วนนำมาผสมเข้าด้วยกัน คนน้ำตาลจนละลายหมด เทลงในตะกร้าสับปะรด คนให้เข้ากันปิดฝาทิ้งไว้ 15 วัน (ในที่มีแสงน้อย ที่อุณหภูมิห้อง)
นำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้มากรองด้วยผ้าขาวบางกรอกใส่ขวดไว้ใช่ ส่วนกากนำไปผสมดินใช้ปลูกต้นไม้
น้ำยาล้างจานสูตรนี้ระยะแรกๆ สีจะขุ่นต่อมาจะตกตะกอน กลิ่นจะฉุนคล้ายไวน์มากขึ้นเรื่อยๆ และสีจะใสน่าใช้ยิ่งขึ้นด้วย

วิธีใช้น้ำยาล้างจานใช้ล้างจานโดยไม่ต้องผสมน้ำ ใช้เหมือนน้ำยาล้างจานทั่วไป ถ้าล้างจานจำนวนมากควรแช่จาน ในน้ำยาล้างจานผสมน้ำสัดส่วนน้ำยาล้างจาน 1 ส่วน น้ำ 5 ส่วนไว้ก่อน ประมาณ 20 นาทีก่อนล้างเพื่อให้สะอาดทั่วถึง แล้วล้างน้ำสะอาดจนกว่าแน่ใจว่าสะอาค ควรตากจานให้แห้งก่อนนำไปใช้ เพื่อป้องกันการตกค้างของจุลินทรีย์ในหยดน้ำที่เกาะอยู่บนจาน
เปลือกที่ปอกออกนำไปหมัก เป็นน้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ ทำปุ๋ยน้ำบำบัดกลิ่นและน้ำเสีย เพราะไม่มั่นใจว่าจะมีสารเคมี หรือปุ๋ยตกค้างอยู่หรือไม่จึงไม่ควรนำมาล้างจาน

น้ำยาล้างจานสูตรนี้ สามารถใช้เป็นน้ำยาล้างมือได้อย่างปลอดภัยทำให้มือนุ่ม ส่วนกากที่เหลือนำไปหมักใหม่ได้อีก โดยใช้สัดส่วนเหมือนเดิม หรือจะนำไปผสมดินปลูกต้นไม้ก็ได้

สูตรน้ำยาล้างจาน.jpg


สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรสอง

วัสดุทำน้ำยาล้างจาน

1.N70หรือหัวเชื้อ   1 กิโลกรัม
2.F24หรือสารขจัดไขมัน  ครึ่งกิโลกรัม ถ้าไม่มีไม่ต้องก็ได้ครับ
3.เกลือ ประมาณ ครึ่งกิโลกรัม ถึง1กิโลกรัม หรือ บางที่เรียกว่าผงข้น
4.น้ำผลไม้รสเปรี้ยว (ที่โรงเรียนทำใช้มะกรูดต้มกับน้ำ)ประมาณ 4 ลิตร
5.น้ำสะอาด ประมาณ7 ลิตร อันนี้แล้วแต่ความข้นครับหากยังข้นก็เติมได้อีกแต่ถ้ามากไปก็ใช้ไม่ได้บางที่ใช้น้ำขี้เถ้าผสมด้วย แต่ไม่มีก้ไม่ต้องครับ

วิธีทำน้ำยาล้างจานเทN70กับF24ลงในภาชนะกวนไปในทิศทางเดียวกันให้เข้ากันจนเป็นครีมขาวๆจากนั้นเติมน้ำผลไม้ลงไปกวนไปเรื่อยๆหากไม่ข้นก็ค่อยๆเติมเกลือทีละน้อยสังเกตุดูหากข้นมากก็เติมน้ำลงไปสลับกันจนน้ำหมดทิ้งใว้ 1 คืนจนฟองยุบแล้วตักใส่ภาชนะใว้ใช้ ต้นทุนประมาณ 140 บาท ครับ ส่วนปริมาณที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้น้ำไปเท่าใด

อย่าคนแรงเพราะจะทำให้มีฟองเกิดมาก

N70คือสารลดแรงตึงผิวประจุลบ มีหน้าที่เป็นสารทำความสะอาดต่างๆมีชื่อเต็มๆว่าTexapon N70 มีชื่อทางเคมีว่า Sodium Laurylether Sulfate N70(โชเดียมลอริวอีเทอร์ซัลเฟตN70)มีชื่อย่อๆว่าSLES

ส่วนF24คือสารขจัดไขมันหรือLAS(linearalkylbenZene Sulfonate)

จะใช้น้ำมะกรูดหรือมะนาวหมักก็ได้ครับใส่ 4 ลิตร

*วิธีทำน้ำมะกรูดหรือมะนาวหมัก

หั่นมะกรูดหรือมะนาว 4 กิโลกรัม เป็นสองซีก ใส่น้ำตาล 1 กิโลครึ่ง น้ำ10 ลิตร หมัก 30วัน กรองเอาแต่น้ำมาใช้

สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรสาม

วัสดุส่วนผสมทำน้ำยาล้างจาน

1 WATER 300 กรัม
2 LA 40 19.84 กรัม
3 หัวแชมพู 67.46 กรัม
4 COMPERLAN KD 3.97 กรัม
5 SCPG 520      0.79 กรัม
6 PERFUME LEMON 0.40 กรัม
7 เกลือ  7.54 กรัม

วิธีทำน้ำยาล้างจาน
1. ละลาย LA 40 กับน้ำ คนจนละลายให้เข้ากัน   (ใช้ความร้อนได้เล็กน้อยเพื่อให้ละลายง่ายขึ้น)
2. เติมหัวแชมพู + COMPERLAN KD ลงไปคนให้เข้ากัน จนแน่ใจว่าเข้ากันดี
3. เติม SCPG 520  ลงไปคนให้เข้ากัน
4. เติมกลิ่นมะนาว ลงไปคนให้เข้ากัน
5. เติมเกลือที่ละลายด้วยน้ำร้อน คนให้เข้ากัน (จะหนืดขึ้น)    ก็จะได้น้ำยาล้างจานตามต้องการ

สูตรน้ำยาล้างจาน สูตรสี่


วัสดุส่วนผสมทำน้ำยาล้างจาน
1  น้ำสะอาด  10 ลิตร    
2  โซฮาแลบ30  -  ลดคราบ 1.5  กก.
3  N-70 - ทำความสะอาด  1  กก.
4  เอ็มอี - ทำให้หนืด 160 กรัม
5  แอมโมเนียม คลอไรด์  - ผงข้น 100 กรัม
6 ผงกันบูด  15 กรัม
7  สี -เหลืองหรือเขียว ตามสมควร
8 กลิ่นมะนาว ตามสมควร 

วิธีทำน้ำยาล้างจาน           ผสมโซฮาแลบ30 และ แอมโมเนียมคลอไรด์ เข้าด้วยกัน  คนจนส่วนผสมเป็นสีขาว แล้วจึงเติมเอ็มอี
และ เอ็น70ลงไป  ค่อยๆเติมน้ำ กวนช้าๆไปจนเข้ากันดี แล้วเติมกลิ่นและสีดูความเข้มตามใจชอบ  ทิ้งไว้จนหมด
ฟอง(ประมาณ1-2 ชั่วโมง) จึงนำไปบรรจุขวดตามต้องการ

ไม้ไผ่

ไม้ไผ่ เป็นวัสดุที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เพื่อความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน ในขณะที่โลกปัจจุบันเป็นเรื่องของพลาสติกและเหล็ก แต่ก็ยังมีโครงการร่วมมือค้นคว้า เรื่องไม้ไผ่ระหว่างชาติต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการในการใช้ไม้ไผ่ซึ่งกันและกันในประเทศลาตินอเมริกัน 6 ประเทศ ในขณะนี้ได้มีโครงการวิจัยร่วมกันเพื่อจะหาชนิดของไม้ไผ่ที่ดีที่สุดจากภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
         ไม้ไผ่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอยู่ในวงศ์ Gramineae เช่นเดียวกับหญ้าแต่เป็นพืชตระกูลหญ้าที่สูงที่สุดในโลก และเป็นพืชเมืองร้อน ไม้ไผ่ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการก่อสร้างไม้นั่งร้านทาสีฉาบปูน ใช้จักสานภาชนะต่าง ๆ ใช้ทำเครื่องดนตรี ใช้เป็นเยื่อกระดาษในอุตสาหกรรมทำกระดาษ ทำเครื่องกีฬา ใช้เป็นอาวุธ เช่น คันธนู หอก หลาว ใช้เป็นเครื่องอุปกรณ์การประมง เช่น ทำเสาโป๊ะ ทำเครื่องมือในการเกษตร นอกจากนั้นใบยังใช้ห่อขนม หน่อไผ่ใช้เป็นอาหารอย่างวิเศษ และกอไผ่ยังใช้ประดับสวนได้งดงาม ไม่ไผ่ทั่วโลกที่รู้จักกันมีประมาณ 75 สกุล ที่ได้สำรวจพบในเมืองไทยมีประมาณ 12 สกุล แยกเป็นชนิดประมาณ 44 ชนิด
ชนิดของไม้ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้างที่ควรทราบ ไม้ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้างนั้นมีดังต่อไปนี้
ภาพ:ไม้ไผ่.png
        1. ไผ่ตง (D.asper) เป็นไผ่ในสกุล Dendrocalamus นิยมปลูกกันในภาคกลางโดยเฉพาะที่จังหวัดปราจีนบุรีปลูกกันมาก เป็นไผ่ขนาดใหญ่ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-12 เซนติเมตร ไม่มีหนามปล้องยาวประมาณ 20 เซนติเมตร โคนต้นมีลายขาวสลับเทา มีขนเล็ก ๆ อยู่ทั่วไปของลำ มีหลายพันธุ์ เช่นไผ่ตงหม้อ ไผ่ตงดำ ไผ่ตงเขียว ไผ่ตงหนู เป็นต้น หน่อใช้รับประทานได้ ลำต้นใช้สร้างอาคาร เช่น เป็นเสา โครงหลังคา เพราะแข็งแรงดี ไผ่ตงมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ชาวจีนนำมาปลูกในประเทศไทยประมาณปี พ.ศ. 2450 ปลูกครั้งแรกที่ตำบลพระราม จังหวัดปราจีนบุรี
         2. ไผ่สีสุก (B.flaxuosa) อยู่ในสกุล Bambusa ไผ่ชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปและมีมากในภาคกลางและภาคใต้ลำต้น เขียวสดเป็นไผ่ขนาดสูงใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ7-10 เซนติเมตร ปล้องยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร บริเวณข้อมีกิ่งเหมือนหนาม ลำต้นเนื้อหนา ทนทานดี ใช้ทำนั่งร้านในการก่อสร้าง เช่น นั่งร้านทาสี นั่งร้านฉาบปูน
         3. ไผ่ลำมะลอก (D.longispathus) อยู่ในสกุล Dendrocalamus มีทั่วทุกภาคแต่ในภาคใต้จะมีน้อยมาก ลำต้นสีเขียวแก่ไม่มีหนาม ข้อเรียบ จะแตกใบสูงจากพื้นดินประมาณ 6-7 เมตร ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นใช้ทำนั่งร้านในงานก่อสร้างได้ดี
         4. ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม (B.arumdinacea) อยู่ในสกุล Bambusa มีทั่วทุกภาคของประเทศต้นแก่มีสีเขียวเหลือง เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีหนามและแขนง ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 -15 เซนติเมตร ใช้ทำโครงบ้าน ใช้ทำนั่งร้าน
         5. ไผ่ดำหรือไผ่ตาดำ (B.sp.) อยู่ในสกุล Bambusa มีในป่าทึบแถบจังหวัดกาญจนบุรีและจันทบุรี ลำต้นสีเขียวแก่ ค่อนข้างดำ ไม่มีหนาม ขนาดเส้นผ่านเส้นศูนย์กลางของปล้องประมาณ 7-10 เซนติเมตรปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร เนื้อหนา ลำต้นสูง 10-12 เมตร เหมาะจะใช้ในการก่อสร้าง จักสาน
         6. ไผ่เฮียะ (C.Virgatum) อยู่ในสกุล Cephalastachyum มีทางภาคเหนือ ลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ปล้องยาวขนาด 50-70 เซนติเมตร ข้อเรียบ มีกิ่งก้านเล็กน้อย เนื้อหนา 1-2 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-18 เมตร ลำต้นใช้ทำโครงสร้างอาคาร เช่น เสา โครงคลังคา คาน
         7. ไผ่รวก (T. siamensis) อยู่ในสกุล Thyrsostachys มีมากทางจังหวัดกาญจนบุรี ลำต้นเล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.7 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เมตร ลักษณะเป็นกอ ลำต้นใช้ทำรั้ว ทำเยื่อกระดาษ ไม้รวกที่ส่งออกขายต่างประเทศ เมื่อทำให้แห้งดีแล้ว จะนำไปจุ่มลงในน้ำมันโซลาเพื่อกันแมลง น้ำมันโซลา 20 ลิตร จะอาบไม้รวกได้ประมาณ 40,000 ลำ
ไม้ไผ่ที่ปลูกกันมากในประเทศไทยและนำมาใช้ประโยชน์มีอยู่ประมาณ 32 ชนิด ดังแสดงในตารางที่ 1.8
ไม้ไผ่ที่ปลูกกันมากในประเทศไทยและนำมาใช้ประโยชน์
ภาพ:ตาราง.png
การทำให้ไม้ไผ่คงทน
         ไม้ไผ่ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆ ไปนั้น ตัดมาใช้ได้เมื่อไม้ไผ่อายุ 3-5 ปี แต่ถ้าไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขกำจัดแมลงและเชื้อราแล้ว ไม้ไผ่ที่อยู่ติดดินอาจมีอายุใช้งานประมาณ 1-2 ปี เท่านั้น แต่ถ้าใช้ในที่ร่มและจากดินอายุอาจจะใช้งานถึง 5 ปี ไม้ไผ่อาจถูกรบกวนทำลายโดยมอดและปลวก เพราะมีอาหารในเนื้อไม้ นอกจากนั้นอาจถูกทำลายโดยเชื้อรา และถ้าใช้ในน้ำทะเลก็อาจถูกทำลายโดยเพรียงได้ การรักษาให้ไม้ไผ่มีอายุยืนนานนั้นอาจทำได้ต่าง ๆ กันดังนี้
         1. วิธีแช่น้ำ การแช่น้ำก็เพื่อทำลายสารในเนื้อไม้ที่มีอาหารของแมลงต่าง ๆ เช่น พวกน้ำตาล แป้ง ให้หมดไป การแช่ต้องแช่ให้มิดลำไม้ไผ่ เป็นน้ำไหลซึ่งมีระยะเวลาแช่น้ำสำหรับไม้สดประมาณ 3 วัน ถึง 3 เดือนแต่ถ้าเป็นไม้ไผ่แห้งต้องเพิ่มอีกประมาณ 15 วัน วิธีใช้ความร้อน หรือการสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ ก่อนนำมาสกัดน้ำมันควรตั้งพิงเอาส่วนโคนไว้ตอนบน การสกัดน้ำมันออกจากไม้ไผ่ทำได้โดยให้ความร้อนด้วยไฟหรือต้ม
         2. วิธีการสกัดน้ำมันด้วยไฟจะทำให้เนื้อไม้มีลักษณะแกร่ง ส่วนมากสกัดน้ำมันด้วยวิธีต้มนั้นเนื้อไม้จะอ่อนนุ่มการสกัดน้ำมันด้วยไฟนั้นทำโดยเอาไม้ไผ่ปิ้งในเตาไฟต่อย่าให้ไหม้และรีบเช็ดน้ำมันที่เยิ้มออกมาจากผิวไผ่ให้หมดระยะเวลาการปิ้งประมาณ 20 นาที อุณหภูมิประมาณ 120-130 องศาเซลเซียส การสกัดน้ำมันด้วยวิธีต้มนั้นใช้ต้มในน้ำธรรมดาใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรืออาจใช้โซดาไฟ 10.3 กรัมหรือโซเดียมคาร์บอเนต 15 กรัม ละลายในน้ำ 18.05 ลิตร ใช้เวลาต้มประมาณ 15 นาที หลังจากต้มแล้วให้รีบเช็ดน้ำที่ซึมออกมาจากผิวไม้ไผ่ก่อนที่จะแห้ง เพราะถ้าเย็นลงจะเช็ดไม่ออกแล้วจึงนำไม้ไผ่ที่สกัดน้ำมันออกไปแล้วล้างน้ำให้สะอาดและทำให้แห้ง
         3. การใช้สารเคมี วิธีที่จะได้ผลดีกว่าการปิ้งหรือต้ม ซึ่งอาจทำได้ทั้งวิธีชุบหรือทาน้ำยาลงไปที่ไม้ไผ่หรือจะโดยวิธีอัดสารเคมีเข้าไปในเนื้อไม้ไผ่ วิธีชุบนั้นใช้เวลาประมาณ 10 นาที เช่น ชุบในน้ำยา DDT ที่มีความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับน้ำมันก๊าดจะทนได้นานถึง 1 ปี ถ้าชุบหรือแช่ให้นานขึ้นก็อาจทนได้ถึง 2 ปี หรืออาจใช้โซเดียมแพนตาคลอโรฟีเนต 1 เปอร์เซ็นต์ ละลายน้ำบอแรกซ์ ก็จะสามารถป้องกันมอดได้เป็นอย่างดี วิธีอัดน้ำยานั้นถ้าไม้ไผ่ไม่มากนักและเป็นไม้ไผ่สดทำโดยเอาน้ำยารักษาเนื้อไม้ใส่ภาชนะที่มีความลึกประมาณ40-60 เซนติเมตร เอาไม้ไผ่ลงแช่ทั้งที่มีกิ่งและใบ เมื่อใบสดระเหยน้ำออกไป โคนไม้ไผ่จะดูดน้ำยาเข้าแทนที่
         วิธีอัดน้ำยาอีกวิธีหนึ่งที่จะอัดน้ำยาเข้าไม่ไผ่สดที่ตัดกิ่งก้านออกแล้ว ทำโดยนำยางในของรถจักรยานยาวพอสมควรแล้วใส่น้ำยาข้างหนึ่งสวมเข้าที่โคนไม้ไผ่ใช้เชือกรัดกันน้ำยาออก ยกปลายยางข้างที่ไม่ได้กรอกน้ำยาให้สูงวิธีนี้ได้ผลดีกับไม้ไผ่สด วิธีอัดน้ำยาอีกวิธีหนึ่งคือ ตั้งถังน้ำยาสูงประมาณ 10 เมตร แล้วต่อท่อสวมที่โคนไม้ไผ่สดด้วยท่อยางแล้วรัดไว้ไม่ให้น้ำยาไหลออกมาแรงดันของน้ำยาที่อยู่สูง 10 เมตร จะดันน้ำยาเข้าไปในไม้ไผ่
         การใช้ไม้ไผ่เสริมคอนกรีต ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เหล็กเสริมคอนกรีตขาดแคลนจึงได้มีผู้นำไม้ไผ่มาผ่าเป็นซีกเล็ก ๆ แล้วใช้เสริมคอนกรีตแทนเหล็ก แม้ในปัจจุบันก็ยังมีผู้ใช้วิธีนี้อยู่
         ไม้ไผ่นั้นมีค่าพิกัดแห่งความยืดหยุ่นต่ำ และเป็นวัสดุที่ยืดตัวมากกว่าเหล็กถึงประมาณ 14 เท่า เมื่อรับแรงเท่ากัน ไม้ไผ่ต้านแรงดึงได้ 13,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ที่ข้อและต้านแรงดึงได้ 17,000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรที่ปล้อง เพราะเหตุที่ไม้ไผ่ดูดน้ำมาก เมื่อนำมาเสริมคอนกรีตแทนเหล็กเสริม ทำให้การยึดเกาะกับคอนกรีตต่ำ ถ้านำไม้ไผ่มาเสริมคอนกรีตขณะที่เทคอนกรีตซึ่งมีน้ำผลมอยู่ ไม้ไผ่จะพองตัว และต่อมาไม้ไผ่หดตัวลงเนื่องจากน้ำระเหยไป จะทำให้ไม้ไผ่ที่เสริมแยกตัวกับคอนกรีตที่หุ้มอยู่ ไม้ไผ่จึงไม่เหมาะสำหรับมาเสริมคอนกรีตโครงสร้าง แต่อาจใช้ได้สำหรับเสริมพื้นคอนกรีตที่ติดกับดินและไม่ได้รับน้ำหนักมากนัก

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอ

ชื่ออื่น :  มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ) หมักหุ่ง (ลาว,นครราชสีมา,เลย) ลอกอ (ภาคใต้) กล้วยลา (ยะลา) แตงต้น (สตูล)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 3-6 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลออกขาว ลำต้นตรง ไม่มีแก่น แตกกิ่งก้านน้อย มีรอยแผลใบชัดเจน มียางขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรอบต้นหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปฝ่ามือ ขนาด 80-120 ซม. ขอบใบเว้าเป็นแฉกลึกถึงแกนก้าน ก้านใบเป็นหลอด กลมกลวงยาว 25-100 ซม. ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อยาวห้อยลง ดอกสีขาว กลีบดอกมี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ดอกเพศเมียสีขาว ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกมีขนาดใหญ่ กว่าดอกเพศผู้ ผล รูปกระสวย ผิวเรียบ เปลือกบาง มียางสีขาว ผลสดสีเขียวเข้ม พอสุกเปลี่ยนเป็นสีส้ม รับประทานได้ มีเมล็ดมาก เมล็ดกลม สีดำ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวใส
ส่วนที่ใช้
: ผลสุก ผลดิบ ยางจากผลหรือจากก้านใบ ราก
สรรพคุณ :
  • ผลสุก - เป็นยากัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
  • ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ
  • ราก - ขับปัสสาวะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • เป็นยาระบาย ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
  • เป็นยาช่วยย่อย ก. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร
    ข. ยางจากผล หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 เกรน หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อยแท้ๆ ( Papain )
  • เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้มะละกอสุกไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซี
  • ราก เป็นยาขับปัสสาวะ
ข้อควรระวัง :
          สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง
สารเคมี :
  • ในผลมะละกอ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 % คาร์โบไฮเดรต 9.5 % แคลเซี่ยม 0.01 % ฟอสฟอรัส 0.01 % เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม และสารอื่นๆ อีกเล็กน้อย
  • ในส่วนของเนื้อมะละกอ จะมี sucrose, invert sugar papain, malic acid และเกลือของ Tartaric acid, citric acid และ pectin จำนวนมาก (มีทั้งในผลดิบด้วย) และ pigment พวก carotenoid และวิตามินต่างๆ
  • ยางมะละกอ มี enzyme ชื่อ papain ซึ่ง papain เป็นชื่อรวมสำหรับเรียกเอนไซม์จากน้ำยางมะละกอ ซึ่งประกอบด้วย papain 10% chymopapain 45% lysozyme 20%

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า


ชื่ออื่น :  กล้วยมะลิอ่อง (จันทบุรี) กล้วยใต้ (เชียงใหม่, เชียงราย) กล้วยอ่อง (ชัยภูมิ) กล้วยตานีอ่อง (อุบลราชธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : หัวปลี  เนื้อกล้วยน้ำว้าดิบ หรือห่าม กล้วยน้ำว้าสุกงอม ราก ต้น ใบ ยางจากใบไม้ล้มลุก สูงประมาณ 3.5 เมตร ลำต้นสั้นอยู่ใต้ดิน กาบเรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม สีเขียวอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ปลายใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านล่างมีนวลสีขาว เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดห้อยลง เรียกว่า หัวปลี มีใบประดับขนาดใหญ่หุ้มสีแดงเข้ม เมื่อบานจะม้วนงอขึ้น ด้านนอกมีนวล ด้านในเกลี้ยง ผล รูปรี ยาว 11-13 ซม. ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก เนื้อในมีสีขาว พอสุกเปลือกผลเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน รับประทานได้ หวีหนึ่งมี 10-16 ผล บางครั้งมีเมล็ด เมล็ดกลม สีดำ
ส่วนที่ใช้ :
สรรพคุณ :
  • รากแก้ขัดเบา
  • ต้น - ห้ามเลือด แก้โรคไส้เลื่อน
  • ใบ - รักษาแผลสุนัขกัด ห้ามเลือด
  • ยางจากใบ - ห้ามเลือด สมานแผล
  • ผล - รักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ยาอายุวัฒนะ แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง
  • กล้วยน้ำว้าดิบ - มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้โรคกระเพาะ และอาหารไม่ย่อย
  • กล้วยน้ำว้าสุกงอม - เป็นอาหาร ยาระบาย สำหรับผู้ที่อุจจาระแข็ง หรือเป็นริดสีดวงทวารขั้นแรกจนกระทั่งถ่ายเป็นเลือด
  • หัวปลี - (ช่อดอกของต้นกล้วย จำนวนไม่จำกัด) ขับน้ำนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • ขับน้ำนม - ใช้หัวปลีแกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ
  • แก้ท้องเดินท้องเสีย
    ใช้กล้วยน้ำว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มนานครึ่งชั่วโมง ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 ถ้วยแก้ว ให้ดื่มทุกครั้งที่ถ่าย หรือทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ใน 4-5 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้นให้ดื่มทุกๆ 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 3-4 ครั้ง
สรรพคุณเด่น :
  • แก้โรคกระเพาะ ท้องผูก
    1. แก้โรคกระเพาะ - นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ถ้าเป็นกล้วยกักมุกดิบจะดีกว่า) มาปอกเปลือก แล้วนำเนื้อมาฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแดด 2 วันให้แห้งกรอบ บดเป็นผงให้ละเอียด ใช้รับประทาน ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำข้าว น้ำผึ้ง (น้ำธรรมดาก็ได้) รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง และก่อนนอนทุกวัน
    2. แก้ท้องผูก - ให้รับประทานกล้วยน้ำว้าสุกงอม ครั้งละ 2 ผล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1/2 ชั่วโมง เวลารับประทานควรเคี้ยวให้ละเอียดที่สุด
    3. แก้ท้องเดิน - ใช้เนื้อกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทาน หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบ ฝานเป็นแว่น ตากแห้งรับประทาน
สารเคมีที่พบ :
  • หัวปลี  มีธาตุเหล็กมาก
  • หัวปลี และราก มี Triterpene หรือ Steroid
    ผลกล้วย ทุกชนิดประกอบด้วย น้ำ แป้ง โปรตีน ไขมัน เส้นใย เกลือแร่ต่างๆ (โดยเฉพาะแคลเซียม เหล็ก และโปรแตสเซียมในกล้วยหอมมีมาก) วิตามิน และเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมี
    Serotonin Noradrenaline และ Dopamine
  • ผลดิบ มีแป้ง Tannin acid, Gallic acid และ Pectin มาก
  • กล้วยหอมสุก ให้กลิ่น และรสของ Amyl acetate, Amylbutyrate Acetaldehyde, Ethyl alcohol และ Methyl alcohol
  • น้ำยาง มี Pelargonidin, Cyanidin, Delphinidin Palonidin Petunidin และ Malvidin
ประโยชน์ทางยาของกล้วยหอม
          กล้วยหอมเป็นผลไม้ รสหวาน เย็น ไม่มีพิษ สารอาหารที่สำคัญๆ ในกล้วยหอม ได้แก่ แป้ง โปรตีน ไขมัน น้ำตาล วิตามินหลายชนิด จัดเป็นผลไม้บำรุงร่างกายดี นอกจากนี้กล้วยหอมยังสามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น เป็นยาทำให้ปอดชุ่มชื่น แก้กระหาย ถอนพิษ นอกจากนี้ยังพบว่า มีฤทธิ์รักษาตามตำรับยา ดังนี้
  • รักษาความดันโลหิตสูง - เอาเปลือกกล้วยหอมสด 30-60 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าเอาปลีกล้วยต้มรับประทานเป็นประจำ จะช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้
  • รักษาริดสีดวงทวาร แก้ท้องผูก - รับประทานกล้วยหอมสุกตอนเช้า ขณะท้องว่างวันละ 1-2 ผล ทุกวัน
  • รักษามือเท้าแตก - เอากล้วยหอมที่สุกเต็มที่ เจาะรูเล็กๆ ที่ปลายข้างหนึ่ง แล้วบีบเอากล้วยออกมาทาที่เท้าแตก ทิ้งไว้หลายชั่วโมง จึงล้างออก จะรู้สึกดีขึ้น

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประโยชน์ของกล้วย

สรรพคุณสมุนไพร กล้วย

ส่วนที่ใช้ยางกล้วยจากใบ ผลดิบ ผลสุก(ทุกประเภท) ผลดิบ หัวปลี
สรรพคุณ
ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด โดยใช้ยางกล้วยจากใบหยอดลงที่บาดแผล ผลดิบ แก้โรคท้องเสีย ยาฝาดสมาน แผลในกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย โดยใช้กล้วยดิบทั้งลูก บดกับน้ำให้ละเอียดและใส่น้ำตาล รับประทาน(หรือไม่อาจใช้กล้วยดิบตากแห้งบดเป็นผงเก็บไว้ใช้ในยามที่จำเป็น อาจใช้ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำอุ่นกิน) ผลสุก ใช้เป็นอาหาร เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารหรือผู้ที่อุจจาระแข็ง วิธีใช้โดยใช้กล้วยสุก 2 ผล ปิ้งกินทั้งเปลือก หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด