วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันอาสาฬหบูชา

วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนมีกำหนด 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่น เรียกกันโดยทั่วไปว่า "จำพรรษา" 



วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11 วันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มีอยู่ 2 วันคือ
  •  
        วันเข้าปุริมพรรษา คือเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน 11
  •  
        วันเข้าปัจฉิมพรรษา  คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 9 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12
    เมื่อเข้าพรรษาแล้วหากภิกษุมีกิจธุระจำเป็น อันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน 7 วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้
  1.  
    เมื่อทายกทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้
  2.  
    ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้
  3.  
    ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้
  4.  
    พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้
  5.  
    เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้
  6.  
    เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธาสามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้
  7.  
    เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
  8.  
    ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
  9.  
    หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้
ในวันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า
อิมสฺมึ  อาวาเส  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ
หรือว่า อิมสฺมึ  วิหาเร  อิมํ  เตมาสํ  วสฺสํ  อุเปมิ
แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้  (ว่า 3 ครั้ง)
หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น  ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ไพลดำ

ชื่อสามัญ ว่านไพรดำ / ไพลสีม่วง / ตากเงาะ (ไทยปัตตานี) จะเงาะ (มาลายูปัตตานี)
ลักษณะ ลำต้น ขึ้นเป็นกอสูง 1.5- 2 เมตร
  ใบ ยาว20-30 ซ.ม. กว้าง 5-6 ซ.ม. ปลายใบเรียวแหลมใบเรียบเกลี้ยงไม่มีขน เนื้อในหัวมีสีม่วงจางๆ
  ช่อดอก ออกตรงจากหัว ก้านช่อดอกยาว 30 ซ.ม. ช่อดอกเป็นรูปไข่ยาวแดงใหญ่สดุดตา กาบหุ้มดอกเป็นรูปไข่มนๆแข็งหนามีสีแดง ดอกย่อยสีเหลืองนวลๆ กระเปาะดอกสีเหลืองมีประและขีดสีม่วง รูป 3 แฉกมนๆ ยาวราว 15 ม.ม. แฉกกลางเว้าปลายเล็กน้อย มีช่อดอกเดียวต่อก้าน
   เป็นว่านที่หายากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเลี้ยงยาก อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจเลี่ยงให้เหมือนธรรมชาติ
   วิธีพิสูจน์ว่าเป็นว่านไพลดำแท้หรือไม่ ให้ใช้หัวว่านนี้ขีดบนฝาหม้อดิน แล้วนำไปปิดหม้อข้าว เมื่อหุงข้าวด้วยหม้อนั้น จะปรากฏว่า ข้าวจะดำหมดทั้งหม้อ ถ้าเป็นเช่นนี้จึงจะเป็นว่านไพลดำที่แท้จริง

ประโยชน์ทางยา
   ว่านไพลดำใช้แก้กระเพาะอาหารเป็นพิษ ลำไส้เป็นแผล แก้ช้ำแก้บวมทั้งตัว เป็นยาบำรุงกำลัง และเป็นยาอายุวัฒนะ เป็นว่านที่แก้อาการบอบช้ำได้ดีมาก

ความน่าเชื่อถือ

วิธีปลูก
  ใช้ดินดำเป็นดินปลูก ถ้าเอาดินสีอื่นมาปลูกว่านนี้จะตายภายใน 3 วัน เพราะว่านนี้เจริญงอกงามได้ดีในดินสีดำเท่านั้น รดน้ำเล็กน้อยพอชุ่ม